คุณสมบัติ | |
สมรรถนะ | โบลท์มาตรฐาน : M10-M16 (3/8"-5/8") |
อัตรากระแทกต่อวินาที | 0-3,200 |
ความเร็วรอบตัวเปล่า | 0-2,100 |
แรงบิดสูงสุด | 230 นิวตันเมตร |
ขนาด | 165 x 79 x 234 มม. |
น้ำหนักสุทธิ | 1.5 กก. |
บล็อก ไร้สาย MAKITA รุ่น DTW 251 RFE (12.7 mm.) แรงบิด 230 N.m ปรับรอบได้ MADE IN JAPAN
การทำงานของเครื่อง DTW 251 RFE
การทำงานของสวิตช์ DTW 251 RFE
- ก่อนใส่ตลับแบตเตอรี่ลงในเครื่องมือ ให้ตรวจสอบว่าสวิตช์สั่งงานสามารถทำงานได้ถูกต้อง และกลับไปยังตำปหน่ง OFF เมื่อปล่อย เปิดใช้เครื่องมือโดยดึงสวิตช์สั่งงาน ความเร็วเครื่องมือจะเพิ่มขึ้นเมื่ออก แรงกดที่ สวิตช์ทำงาน ปล่อยสวิตช์สั่งงานเพื่อหยุดทำงาน
การเปิดดวงไฟด้านหน้าของเครื่อง DTW 251 RFE
- อย่ามองเข้าไปในดวงไฟหรือจ้องดูแหล่งกำเนิดแสงโดยตรง ดึงสวิตช์สั่งงานเพื่อเปิดไฟ ดวงไฟจะส่องสว่างเมื่อดึงสวิตช์ในขณะที่ดึงสวิตช์สั่งงาน ดวงไฟจะดับลงเองภายใน 10-15 วินาที
หลังจากปล่อยสวิตช์ทำงาน
การทำงานของสวิตช์เปลี่ยนทิศทางของเครื่อง DTW 251 RFE
- เครื่องมือนี้มีสวิตช์เปลี่ยนทิศทาง เพื่อใช้เปลี่ยนทิศทางการหมุน ดันก้านสวิตช์เปลี่ยนทิศทางจากด้าน A เพื่อให้หมุนตามเข็มนาฬิกาหรือจากด้าน B เพื่อให้หมุนทวงเข็มนาฬิกา เมื่อด้านสวิตช์
เปลี่ยนทิศทางอยูในตำแหน่งปกติ สวิตช์สั่งงานจะไม่สามารถดึงได้
ข้อควรระวัง
- ตรวจสอบทิศทางการหมุนก่อนใช้งานเสมอ
- ใช้สวิตช์เปลี่ยนทิศทางหลังเครื่องมือหยุดสนิทเท่านั้น การเปลี่ยนทิศทางการหมุนก่อนเครื่องมือหยุดสนิทอาจทำให้เครื่องมือเสียหายได้
- เมื่อไม่ได้ใช้งานเครื่องมือ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าก้านสวิตช์เปลี่ยนทิศทางอยู่ในตำแหน่งปกติ
การประกอบเครื่อง DTW 251 RFE
ข้อควรระวัง
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสวิตช์เครื่องมืออยู่ในตำแหน่งปิดเครื่อง และถอดตลับแบตเตอรี่ออกก่อนจะดำเนินการใดๆ กับเครื่องมือ
การเลือกหัวบ็อกซ์ที่เหมาะสมองเครื่อง DTW 251 RFE
ใช้หัวบ็อกซ์ที่เหมาะสมกับกับขนาดของสลักเกลียวและน็อตเสมอ การใช้หัวบ็อกซ์ที่มีขนาดไม่เหมาะสมอาจจะทำให้ไม่สามารถขันแน่นหรือมีแรงขันไม่เพียงพอ
และทำให้สลักเกลียวหรือน็อตเสียหายได้
การใส่และถอดหัวบ็อกซ์
1. สำหรับหัวบ็อกซ์ที่ไม่มีโอริงและสลัก วิธีการติดตั้งหัวบ็อกซ์ ให้กดใส่ลงในช่องยึดของอุปกรณ์จนหัวบ็อกซ์ล็อคเข้าที่วิธีการถอดหัวบ็อกซ์เพียงแค่ดึงออก
2. สำหรับหัวบ็อกซ์ที่มีโอริงและสลัก เลื่อนโอริงออกจากช่องในหัวบ็อกซ์แล้วถอดสลักออก ใส่หัวบ็อกซ์ไว้ในช่องยึดของเครื่องมือให้รูในหัวบ็อกซ์ตรงกับรูในช่องยึด ใส่สลักเข้ารูของหัวบ็อกซ์และช่องยึดและใส่โอริงกลับไว้ในตำแหน่งเดิมในช่องของหัวบ็อกซ์เพื่อยึดสลัก เมื่อต้องการถอดหัวบ็อกซ์ให้ปฎิบัติย้อนขั้นตอนการถอด
ขอเกี่ยว
ขอเกี่ยวให้ความสะดวกในการแขวนเครื่องมือไว้ชั่วคราวซึ่งสามารถติดตั้งไว้ที่ด้านใดด้านหนึ่งของเครื่องมือ เมื่อต้องการติดตั้งขอเกี่ยวให้ใส่ขอเกี่ยวไว้ในร่องบนตัวเครื่องมือที่ด้านใดด้านหนึ่ง แล้วยึดติดไว้ด้วยสกรูเมื่อต้องการถอดออก ให้คลายสกรูแล้วดึงขอเกี่ยวเข้ามา
การใช้งาน เครื่อง DTW 251 RFE
ข้อควรระวัง DTW 251 RFE
ให้แน่ใจว่าใส่ตลับแบตเตอรี่เข้าจนสุดจนกระทังได้ยินเสียงล็อคเข้าที่ หากคุณยังเห็นส่วนสีแดงที่ด้านบนของปุม แสดงว่าตลับแบตเตอรี่ยังไม่ล็อคเข้าที่ ให้ดันตลับแบตเตอรี่เข้าจนสุด จนไม่เห็นส่วนสีแดงอีกไม่เช่นนั้น ตลับแบตเตอรี่จะหลุดออกจากเครื่องมือทำให้คุณหรือคนรอบข้างได้รับบาดเจ็บ
ถือเครื่องมือให้แน่นและมั่นคง ครอบหัวบ็อกซ์ไว้ที่หัวน๊อตหรือสลักเกลียว เปิดเครื่องแล้วทำการขันโดยใช้ระยะเวลาการขันแน่นที่เหมาะสม
แรงบิดขันแน่นที่เหมาะสมอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาดของสลักเกลียว วัสดุของชิ้นงานที่จะขันแน่น ฯลฯ
1.จับเครื่องมือให้ตรงกับน็อตหรือสลักเกลียว
2. การใช้แรงบิดขันแน่นมากเกินไปอาจทำให้สลักเกลียว/น็อต หรือหัวบ็อกซ์เสียหายได้ ก่อนเริ่มงาน ให้ทำการทดสอบการทำงานเพื่อกำหนดระยะเวลาการขันแน่นที่เหมาะสมสำหรับสลักเกลียวหรือน็อต ที่คุณใช้
3. หากใช้งานเครื่องมืออย่างต่อเนื่องจนกระทั่งแบตเตอรี่หมด ให้พักเครื่องไว้ประมาณ 15 นาที ก่อนใส่ตลับแบตเตอรี่ใหม่
แรงบิดขันแน่นอาจเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. เมื่อพลังงานในตลับแบตเตอรี่ใกล้หมด แรงดันไฟฟ้าจะลดลงซึ่งทำให้แรงบิดขันแน่นลดลง
2. หัวบ็อกซ์
- การใช้หัวบ็อกซ์ชนาดไม่ถูกต้องจะทำให้แรงบิดขันแน่นลดลง
- กัวบ็อกซ์ที่ชำรุด (มีรอยฉีกขาดตรงหัวหรือตรงช่องสี่เหลี่ยม) จะทำให้แรงบิดขันแน่นลดลง
3. สลักเกลียว
- แม้ว่าค่าสัมประสิทธิ์แรงบิดและระดับของสลักเกลียวจะเท่ากัน แรงบิดขันแน่นที่เหมาะสมจะแตกต่างกันตามเส้นผ่าศูนย์กลางของสลักเกลียว
- แม้ว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของสลักเกลียวจะเท่ากันแรงบิดขันแน่นที่เหมาดสมจะแตกต่างกันตามค่าสัมประสิทธิ์แรงบิด ระดับของสลักเกลียว และความยาวของสลักเกลียว
4. การใช้ข้อต่ออเนกประสงค์หรือคานต่อจะลดแรงบิดขันแน่นของแระแจกระแทกลงเล็กน้อย จึงควรชดเชยแรงบิดขันแน่นที่ลดลงด้วยเวลาการขันแน่นที่นานขึ้น
5. ลักษณะการจับเครื่องมือหรือเนื้อวัสดุในตำแหน่งที่จะขันแน่นจะมีผลต่อแรงบิด
6. การใช้งานเครื่องมือที่ความเร็วต่ำจะทำให้แรงบิดขันแน่นลดลง
การบำรุงรักษา
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสวิตช์เครื่องมืออยู่ในตำแหน่งปิดเครื่องและถอดตลับแบตเตอรี่ออกก่อนทำการตรวจสอบหรือบำรุงรักษา
- อย่าใช้น้ำมันเชื่อเพลิง เบนซิน ทินเนอร์ แอลกเกอร์ฮอล์ หรือวัสดุประเภทเดียวกัน เพราะอาจจะทำให้เครื่องมือมีสีซีดจางผิดรูปทรงหรือแตกหักได้