คุณสมบัติ | |
กำลังไฟ | 3 แรงม้า (2.2Kw.) |
ไฟเข้า | 220V. |
รอบมอเตอร์ | 1450 Rpm. |
rated eff | 82.3% |
Frame | 112 m |
rating | S1 |
น้ำหนักเฉพาะตัวมอเตอร์ | 32.2 กก. |
น้ำหนักรวมลังไม้ | 38.2 กก. |
มอเตอร์ MITSUBISHI 3 แรงม้า รุ่น SCL-QR3HP 220V.
การใช้งาน มอเตอร์ MITSUBISHI 3 แรงม้า
การใช้งานครั้งแรก
1.เพลามอเตอร์ต้องสามารถหมุนได้ด้วยมือโดยไม่ติดขัด
2.ตรวจเช็คว่ามีการติดตั้งฟิวขนาดเหมาะสมไว้แล้ว
3.ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ต่อสายไฟและสายดินแล้ว
4.ตรวจสอบทิศทางการหมุนของมอเตอร์ให้ตรงกับเครื่องจักรที่ใช้
5.ตรวจเช็คว่าการเชื่อมต่อกับเครื่องจักรแน่นหนาและแข็งแรงเพียงพอ
การใช้งานทั่วไป
1. ลดโหลดในขณะทำการสตาร์ทให้น้อยที่สุด แล้วค่อยเพิ่มโหลดเมื่อมอเตอร์ถึงความเร็วสูงสุดง
2.ตรวจวัดกระแสในขณะทำงานว่าเกินกว่าที่ระบุไว้ในป้ายสินค้าหรือไม่หากเกินให้ปรับลดโหลดลง มิฉะนั้นอาจทำให้ขดลวดมอเตอร์ไหม้ได้
3.ตรวจสอบว่าไม่มีเสียงดังผิดปรกติ ในตลับลูกปืน
4.หากเกิดไฟดับ ให้ทำการสับสวิตช์ตัดไฟ เพื่อป้องกันมอเตอรืโอเวอร์โหลดหรืออันตรายอื่นๆ เนื่องจากมอเตอร์รับโหลดกะทันหันเมื่อไฟมา
5.หยุดมอเตอร์ทันทีหากเกิดความผิดปรกติขึ้น
ระยะการตรวจสอบและซ่อมบำรุง
1.มอเตอร์ที่มีการใช้งานน้อยจะมีความชื้อเนื่องจากหยุดเป็นเวลานานการตรวจสอบประจำวันจึงมีความสำคัญ
ในทางกลับกันการถอดชิ้นส่วนตรวจสอบนั้นไม่จำเป็นต้องทำบ่อยครั้ง
2.มอเตอร์ที่ใช้งานต่อเนื่อง เช่น ปั๊มและพัดลม ควรหมั่นทำการถอดชิ้นส่วนมาตรวจสอบ
3.ทำการบันทึกผลการตรวจสอบประจำวัน การตรวจสอบประจำเดือนและการถอดชิ้นส่วนตรวจสอบ
เพื่ออ้างอิงและวางแผนการซ่อมบำรุงในอนาคต
4.จัดแผนและทำการถอดชิ้นส่วนตรวจสอบตามการใช้งาน
สถานที่ติดตั้งมีฝุ่นมากแต่ใช้งานน้อยควรตรวจสอบทุกๆ1-2ปีถ้าใช้งานต่อเนื่องควรตรวจสอบทุกปี
สถานที่ติดตั้งเป็นพื้นที่สะอาดใช้งานน้อยควรตรวจสอทุกๆ2-3ปีแต่ถ้าใช้งานอย่างต่อเนื่องควรตรวจสอบทุกๆ1-3ปี
อาการผิดปรกติ
มอเตอร์ไม่ทำงาน
สาเหตุที่เป็นไปได้ การแก้ไข
1.ไม่มีกระแสไฟฟ้า 1.ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
2.ฟิวส์ขาด 2.เปลี่ยนฟิวส์
3.สายไฟขาด/แตก 3.เปลี่ยนสายไฟ
4จุดเชื่อต่อแหล่งจ่ายไฟไม่ดี 4.ทำความสะอาดจุดเชื่อม/ขัดยึดให้แน่น
5.แรงดันไฟฟ้า (Voltage) ต่ำ 5.ตรวจสอบระบบไฟฟ้าหรือเปลี่ยนขนาดหรือความยาวสายไฟฟ้า
การแก้ไข
มอเตอร์มีเสียงดังผิดปรกติ
สาเหตุที่เป็นไปได้ การแก้ไข
1.ต่อไฟขาดไป 1 เฟส (สำหรับมอเตอร์ 3 เฟส) 1.ตรวจสอบสวิทช์และวงจรควบคุม
2.แหล่งจ่ายไฟผิดปกติ 2.ตรวจสอบแก้ไขแหล่งจ่ายไฟ
3.ใช้งานเกินพิกัด 3.เลือกใช้มอเตอร์ที่มีกำลังเหมาะสม
4.ลูกปืนเสีย 4.เปลี่ยนตลับลูกปืนใหม่
5.จารบีในตลับลูกปืนมีน้อยหรือเสื่อม (ตลับลูกปืนแบบเปิด) 5.เติมหรือเปลี่ยนลูกปืนใหม่
มอเตอร์หมุนช้า
สาเหตุที่เป็นไปได้ การแก้ไข
1.ระบบช่วยสตาร์ทผิดปกติ 1.ตรวจสอบและซ่อมแซมระบบช่วยสตาร์ท
2.แหล่งจ่ายไฟผิดปกติ 2.ตรวจสอบแก้ไขแหล่งจ่ายไฟ
3.ใช้งานเกินพิกัด 3.เลือกใช้มอเตอร์ที่มีกำลังเหมาะสม
มีการสั่นสะเทือนสูงผิดปรกติ
สาเหตุที่เป็นไปได้ การแก้ไข
1.เครื่องจักรที่นำมาประกอบมีความไม่สมดุลมากเกิน 1.ตรวจสอบแก้ไขค่าความสมดุลขอชิ้นส่วนเครื่องจักรที่นำมา ประกอบ
2.การประกอบคัปปลิงไม่ได้ศูนย์ 2.ปรับตั้งความเยื้องศูนย์ให้ถูกต้อง (พิจารณาการขยายตัวจาก ความร้อนด้วย)
3.ฐานยึดมอเตอร์ไม่มั่นคงหรือโบลท์ยึดหลวม 3.เสริมความแข็งแรงให้ฐาน หรือขันโบลท์ให้แน่น